วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การวิจัยทางการศึกษา

11.      ปัญหาวิจัยควรมีลักษณะอย่างไร
-          เป็นกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ใด
-          มีวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
-          วิธีการศึกษาที่มีความเป็นมา
22.      จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเลือกปัญหาการวิจัยกับหลังจากได้ปัญหาการวิจัยแล้ว เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
-          เหมือนกัน เพราะเป็นการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือนำมาต่อยอดความรู้ในปัญหาการวิจัยและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำวิจัย
33.      ลักษณะของสมมุติฐานที่ดีมีอะไรบ้าง
-          สอดคล้องกับการวิจัยลักษณะเดียวกันที่ผ่านมา
-          สะท้อนแนวคิดที่จะทำวิจัยอย่างชัดเจน
-          ควรใช้คำอธิบายที่มีเหตุผล
-          จะต้องทดสอบใช้
44.      เหตุใดประชากรจึงมีความสำคัญมากในการวิจัย
-          เพราะ ประชากรเป็นกลุ่มของสิ่งต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาหาข้อเท็จจริงหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำวิจัย
55.      การเลือกตัวอย่าง หรือการสุ่มตัวอย่างมีประโยชน์อย่างไรในการวิจัย
-          ผลการวิจัยไม่สามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่าง
-          กลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัยและองค์ประกอบบางตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้
66.      ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างควรพิจารณาถึงสิ่งใดบ้าง
-          โดยใช้ ทฤษฏีการประมาณค่า
N =
                             N = จำนวนประชากร
77.      การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตให้ได้คุณภาพควรทำอย่างไร
-          ศึกษาวัตถุประสงค์ของการวิจัย
-          ตรวจสอบข้อมูลและประมวลเบื้องต้น
-          สร้างแบบแผนการเก็บตัวอย่าง
-          อบรมพนักงานสนามให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยและขั้นตอนสังเกตข้อมูล
-          เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
88.      การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร
-          เป็นการถามตอบกันโดยตรง
-          มีการสนทนากันระหว่างผู้มีข้อมูลกับผู้ต้องการทราบข้อมูล
-          หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจก็ถามซ้ำและทำความเข้าใจได้ทันที
-          เป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ตอบและผู้ทำวิจัย
99.      คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยควรมีลักษณะอย่างไร
-          มีความเที่ยงตรง
-          เชื่อมั่น
-          จำแนกสิ่งที่รู้/ไม่รู้
-          ความเป็นปรนัย ใครอ่านก็เข้าใจคืออะไร
110.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยมีอะไรบ้าง
-          สังเกต
-          สัมภาษณ์
-          แบบทดสอบ
-          แบบสอบถาม
111.  ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิมีความแตกต่างกันอย่างไร
-          ข้อมูลปฐมภูมิ  เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมแหล่งข้อมูลโดยตรงข้อมูลประเภทนี้ได้มาจากการสำรวจสัมภาษณ์
-          ข้อมูลทุติยภูมิ  เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรงแต่ได้มาจากข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว
112.  การรวบรวมข้อมูลให้ได้คุณภาพควรคำนึงถึงสิ่งใด
-          แหล่งข้อมูล
-          ระดับการวัด
-          การเป็นตัวแทน

113.  การวิเคราะห์ข้อมูลมีหลักสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคืออะไร
-          วิเคราะห์เพื่อตอบจุดประสงค์
-          เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลอยู่ระดับการใด
-          เปรียบเทียบและแปลความหมายของเกณฑ์
114.  รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์มีหัวข้อใดบ้าง
-          หน้าปก
-          กิตติกรรมประกาศ
-          สารบัญ
-          เนื้อเรื่อง
-          เอกสารอ้างอิง
-          ภาคผนวก
-          ประวัติผู้จัดทำ
115.  การเขียนรางงานการวิจัยภาคผนวกมีความสำคัญอย่างไร
-          มีขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและชัดเจน
-          หลักฐานในการปฏิบัติและการทดสอบหรือทดลอง
-          มีความน่าเชื่อถือและได้ลงมือปฏิบัติจริง
-          มีความสำคัญต่อความมั่นคงของกลุ่ม
116.  การเขียนบรรณานุกรมโดยทั่วไปเขียนอย่างไร
-          ชื่อผู้แต่ง
-          ชื่อเรื่อง
-          ปี พ.ศ. ตีพิมพ์
117.  ลักษณะที่ดีของผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ควรเป็นอย่างไร
-          ผลการทดสอบหรือทดลองตรงตามจุดประสงค์
-          สามารถตอบจุดประสงค์การวิจัย
-          วิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนเป็นอย่างระบบ
-          เครื่องมือใช้วัดอยู่ในระดับเชื่อถือได้
118.  การวิเคราะห์ว่า ผลการวิจัยมีความถูกต้องน่าเชื่อถือจากข้อมูลใดบ้าง
-          เครื่องมือในการวัดผล  แบบทดสอบ,แบบทดสอบวัดความถนัด,แบบทดสอบวัดบุคคลและสังคม


                   

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การจัดการเรียนรู้ DRU Model

การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ DRU  Model

สามเหลี่ยมแห่งการเรียนรู้

การศึกษาตลอดชีวิต


การจัดการศึกษามี 3  รูปแบบดังนี้              

     1. การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                  

     2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกล                                                                                                                                                                 
     3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
                 
                 ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง

                 ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                 ด้านสังคม (Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับ      ผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา

จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต  จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ 4 ขั้น จะได้สามเหลี่ยม  ภายในวงกลมสี่รูป  ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร

2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง  จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้  และรวมถึงการนิเทศการศึกษา

4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร


D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)


ขั้นแรกของ DRU Model ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอน D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) คือ การระบุเป้าหมายการเรียนรู้  (goal setting relative to learning task)






R : ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
สรุป ขั้น R ของ DRU Model ผลผลิตที่ไดจากขั้น R : การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้  (Research into identifying effective learning environments ) คือ ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า การเรียนรู้พัฒนา Meta Cognition
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้
สรุปได้ว่า การดำเนินการตามขั้น U: Universal Design for learning (การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล : UDL) เป็นขั้นที่ให้นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตประเมินตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้อง และมีการกำกับติดตามซึ่งการกำกับติดตามนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ (Monitoring Accuracy) ผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการระบุแนวทางการประเมินการเรียนรู้ตามระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับคุณภาพการเรียนรู้ไว้ 4 ระดับ คือ
ระดับการเรียนรู้เท่ากับ SOLO 1 = ต่ำ หมายถึง ระดับความจำ–ความเข้าใจ 
SOLO 2 = ปรับปรุง หมายถึง ระดับการนำไปใช้-การประยุกต์ใช้
SOLO 3 = ปานกลาง/พอใช้ หมายถึง ระดับการเรียนรู้ในระดับสร้างสรรค์ (ความรู้ที่เกิดจาก ตนเอง) 
SOLO 4 = สูง หมายถึง ระดับMeta cognitive System (ความรู้ระดับอภิปัญญา/การรู้คิด)

ที่มา : อ.ดร.นฤมล  ปภัสสรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี






วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

งานวิขาวิจัยทางการศึกษาและการพัฒนารูปแบบการสอน

1.1 รหัสวิชา :1042401
ชื่อวิชา การวิจัยทางการศึกษา
         คำอธิบายรายวิชาการวิจัยการศึกษา
การศึกษาความหมายทฤษฎีการวิจัยและลักษณะของการวิจัย ประโยชน์และความสำคัญของการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย กระบวนการวิจัย สถิติเพื่อการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนการเสนอโครงการเพื่อทำวิจัยการฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาการเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัย การศึกษาค้นคว้างานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน

1.2 รหัสวิชา: 1024104
ชื่อวิชา การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คำอธิบายรายวิชา
            ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบที่การสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิกส์เพื่อพัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนและชั้นเรียน การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น