วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ระดมสมองของกลุ่ม K

การระดมสมองช่วงบ่าย (3/มีนาคม/2560)


ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี
คำชี้แจง ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมสมองในประเด็นต่อไปนี้
1. การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์คืออะไร มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนดังกล่าวนี้
ตอบ     การพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2542 โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกด้านให้ได้ระดับมาตรฐานตามความมุ่งหวังของประเทศชาติ
          มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอน เพราะรูปแบบการสอนจะต้องมีความทันสมัยเหมาะสมกับวัย และผู้เรียนสามารถเลือกวิธีที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ได้ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ช่วยเหลือ และควบคุม
2. จงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ     เราสามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น
          1. สภาพการเรียนการสอน
            1.1 ด้านครู ส่วนใหญ่ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอนมีประสบการณ์สอนเป็นเวลานานมีความรับผิดชอบสูง
            1.2 ด้านนักเรียน มีการจัดสอนเสริมและบริการแนะแนวให้แก่นักเรียนพร้อมทั้งมีทุนการศึกษาให้นักเรียน
           1.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์และครูร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม มีการปฏิบัติการและลองสอนตามหลักสูตร
              1.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการผลิตสื่อและการจัดซื้อสื่อตามความต้องการของครู
              1.5 ด้านการวัดและประเมินผล
          2. ปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
             2.1 ด้านครู การขาดแคลนครูผู้ช่วยในการจัดเตรียมการเรียนการสอน
             2.2 ด้านนักเรียน นักเรียนมีจำนวนมากกว่าห้องเรียน
            2.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอื่นทำให้มีการเดินทางลำบาก     
   2.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูไม่ค่อยใช้สื่อช่วยสอนแต่ครูส่วนใหญ่จะสอนแบบบรรยาย
             2.5 ด้านการวัดและการประเมินผล ข้อสอบที่ครูออกส่วนใหญ่เน้นเรื่องความจำ       
3. หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปัจจุบันมีความเป็นไปได้เพียงใด ในการจัดการศึกษา 3.0 และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดการศึกษา 4.0 จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ     การจัดการศึกษา 3.0
          เป็นไปได้ เพราะครู 3.0 มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาการที่ตนสอนเป็นอย่างดี รู้ความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และศักยภาพของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน มีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้บนสื่อพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัล และกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน การเรียนการสอน แบบ 3.0 จึงเน้นที่การเรียนมากกว่าการสอน ครูจึงใช้เวลาในการบรรยายหรือถ่ายทอดน้อยลง
          การจัดการศึกษา 4.0
          เป็นไปได้ เพราะการจัดการศึกษา 4.0 จะใช้สมรรถนะที่ครูมีอยู่ในการทำให้นักเรียนกลายเป็นนักเรียน 4.0 ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่21 คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนการสอน 4.0 จึงเน้นที่การสร้างชุมชนแห่งความสงสัย กระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้ และอยากได้คำตอบขึ้นใจชั้นเรียน
4. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรบ้าง   มีความคาดหวังต่อการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวนี้เพื่อที่จะนำไปใช้ในอาชีพครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู (ตามที่คุรุสภากำหนด) โดยสรุป
ตอบ    มาตรฐานความรู้/มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
          มาตรฐานความรู้
                   1. การจัดการเรียนรู้
                   2. จิตวิทยาสำหรับครู
                   3. การวัดและประเมินผลการศึกษา
                   4. นวัตกรรมและเทคโนโลยี
                   5. ความเป็นครู
          มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
                  1. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ระหว่างเรียน
                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                     มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ หมายถึงให้ผู้เรียน เรียนได้ตามความถนัดโดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ได้ผลดี
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึงเลือกใช้และปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ แนวทางที่นำสู่ผลก้าวพัฒนาของผู้เรียนได้ทุกสถานการณ์




นางสาวรสริน  เพชรดี  รหัส 5641060171
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

NPU Model

NPU Model

NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ที่มาจากนิยามศัพท์ของการวิจัย ที่ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ผู้วิจัยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์มาเป็นสาระสำคัญประกอบด้วยการทำความกระจ่างชัดในความรู้การเลือกรับและทำความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการตรวจสอบทบทวนและใช้ความรู้ใหม่ในทำนองเดียวกนผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลอง  Biggs 3’P Model ตัวแปรก่อนเรียน(Presage) กระบวนการ(Process) และผลผลิต(Product) สอดคล้องกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์(Treffinger, Isaksen and Dorval, 2000) ประกอบด้วย
1)  ความเข้าใจที่ท้าทาย(Understanding the Challenge) มุ่งค้นหาจุดหมาย(goal)โอกาส             (oppor-tunity) ความท้าทาย  (Challenge) ความกระจ่างชัด(clarifying) คิดแผนการ(formulating) เพื่อกำหนดกรอบ ความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน
2)  การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา(Generating Ideas)
3)  การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน(Preparing for Action)
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
        1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และ     จุดหมายของการศึกษาในระดับสากล  (World class Education) เพื่อกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา การพัฒนาหลักสูตรและนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
         1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 1)กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
  2) จัดทำปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่  2 P-/Praxis
2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
    2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
    2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
      2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปรายให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการอธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้นำความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรนักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 U-Understanding
การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้-การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา


ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model

ผู้จัดทำ นางสาวรสริน   เพชรดี  รหัส 5641060171
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะครุศาสตร์

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

สมาชิกในกลุ่มที่ 3 (K)


สมาชิกในกลุ่มที่ 3 (K)
วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (1024104)
ลำดับ
ชื่อ-สกุล
เรื่องที่สอน (9-20/ม.ค/60)
1
รหัสนักศึกษา 5641060101
สอนชั้น ม.2 เรื่อง โครงงาน
2
รหัสนักศึกษา 5641060106
สอนชั้น ม.2 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก
3
รหัสนักศึกษา 5641060107
สอนชั้น ม.1 เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
4
รหัสนักศึกษา 5641060109
สอนชั้น ม.1 เรื่อง ความดันและความชื้นบรรยากาศ
5
รหัสนักศึกษา 5641060112
สอนชั้น ม.2 เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์
6
รหัสนักศึกษา 5641060114
สอนชั้น ม.1 เรื่อง การเคลื่อนที่
7
รหัสนักศึกษา 5641060130
สอนชั้น ม.1 เรื่อง การเกิดเมฆและฝน
8
รหัสนักศึกษา 5641060136
สอนชั้น ม.1 เรื่อง โครงสร้างของเซลล์
9
รหัสนักศึกษา 5641060142
สอนชั้น ม.2 เรื่อง ดินและหิน
10
รหัสนักศึกษา 5641060143
สอนชั้น ม.3 เรื่อง ตัวกลางของแสง
11
รหัสนักศึกษา 5641060144
สอนชั้น ม.1 เรื่อง ความดันและความชื้นบรรยากาศ
12
รหัสนักศึกษา 5641060148
สอนชั้น ม.2 เรื่อง ดินและหิน
13
รหัสนักศึกษา 5641060149
สอนชั้น ม.1 เรื่อง การเคลื่อนที่
14
รหัสนักศึกษา 5641060150
สอนชั้น ม.2 เรื่อง การหักเหของแสง
15
รหัสนักศึกษา 5641060171
สอนชั้น ม.2 เรื่อง ดิน
16
รหัสนักศึกษา 5641060173
สอนชั้น ม.1 เรื่อง น้ำเสีย

นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56  คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี


SU Model

7.1 รูปแบบการสอนแบบ SU Model

SU Model
SU MODEL คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
·      ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
·      ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
·      ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นตอนที่ 1คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
          ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
          ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner)ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
         ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม


ผู้จัดทำ นางสาวรสริน  เพชรดี  รหัส 5641060171
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะครุศาสตร์



LRU Model

7.2 รูปแบบการสอนแบบ LRU Model

LRU Model
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์
รูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีชื่อว่า LRU Model มี 3 ขั้นตอน คือ 
1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (L) 
2) การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R) 

3) การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินพัฒนาการเรียนรู้ (U)

ผู้จัดทำ นางสาวรสริน  เพชรดี  รหัส 5641060171
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะครุศาสตร์

ตารางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน

4. ตารางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน


รูปแบบการสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้
(แบบเก่า)
จุดประสงค์การเรียนรู้
(แบบใหม่)
หมายเหตุ
Engaugement
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)
SU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)
LRU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)
DRU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)

ตาราง 15 สัปดาห์ วิชาการวิจัยทางการศึกษา

3.2 ตาราง 15 สัปดาห์ วิชาการวิจัยทางการศึกษา

ที่
กิจกรรม
ชิ้นงาน
1
ปฐมนิเทศ ชี้แจ้งวิชาเรียน เกณฑ์การให้คะแนน
-
2
การศึกษาความหมายทฤษฎีการวิจัยและลักษณะของการวิจัย
-
3
การศึกษาความหมายทฤษฎีการวิจัยและลักษณะของการวิจัย
-
4
ประโยชน์และความสำคัญของการวิจัย
-
5
จรรยาบรรณนักวิจัยรูปแบบการวิจัย
-
6
สอบกลางภาค
คะแนนสอบ
7
การออกแบบการวิจัย
-
8
กระบวนการวิจัยสถิติเพื่อการวิจัย
-
9
การวิจัยในชั้นเรียนการเสนอโครงการเพื่อทำวิจัยการฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษา
-
10
การเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัย
-
11
การศึกษาค้นคว้างานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
-
12
การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน
-
13
การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน
-
14
นำเสนองาน
15
สอบปลายภาค
คะแนนสอบ