วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ระดมสมองของกลุ่ม K

การระดมสมองช่วงบ่าย (3/มีนาคม/2560)


ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี
คำชี้แจง ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมสมองในประเด็นต่อไปนี้
1. การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์คืออะไร มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนดังกล่าวนี้
ตอบ     การพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2542 โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกด้านให้ได้ระดับมาตรฐานตามความมุ่งหวังของประเทศชาติ
          มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอน เพราะรูปแบบการสอนจะต้องมีความทันสมัยเหมาะสมกับวัย และผู้เรียนสามารถเลือกวิธีที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ได้ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ช่วยเหลือ และควบคุม
2. จงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ     เราสามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น
          1. สภาพการเรียนการสอน
            1.1 ด้านครู ส่วนใหญ่ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอนมีประสบการณ์สอนเป็นเวลานานมีความรับผิดชอบสูง
            1.2 ด้านนักเรียน มีการจัดสอนเสริมและบริการแนะแนวให้แก่นักเรียนพร้อมทั้งมีทุนการศึกษาให้นักเรียน
           1.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์และครูร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม มีการปฏิบัติการและลองสอนตามหลักสูตร
              1.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการผลิตสื่อและการจัดซื้อสื่อตามความต้องการของครู
              1.5 ด้านการวัดและประเมินผล
          2. ปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
             2.1 ด้านครู การขาดแคลนครูผู้ช่วยในการจัดเตรียมการเรียนการสอน
             2.2 ด้านนักเรียน นักเรียนมีจำนวนมากกว่าห้องเรียน
            2.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอื่นทำให้มีการเดินทางลำบาก     
   2.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูไม่ค่อยใช้สื่อช่วยสอนแต่ครูส่วนใหญ่จะสอนแบบบรรยาย
             2.5 ด้านการวัดและการประเมินผล ข้อสอบที่ครูออกส่วนใหญ่เน้นเรื่องความจำ       
3. หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปัจจุบันมีความเป็นไปได้เพียงใด ในการจัดการศึกษา 3.0 และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดการศึกษา 4.0 จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ     การจัดการศึกษา 3.0
          เป็นไปได้ เพราะครู 3.0 มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาการที่ตนสอนเป็นอย่างดี รู้ความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และศักยภาพของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน มีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้บนสื่อพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัล และกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน การเรียนการสอน แบบ 3.0 จึงเน้นที่การเรียนมากกว่าการสอน ครูจึงใช้เวลาในการบรรยายหรือถ่ายทอดน้อยลง
          การจัดการศึกษา 4.0
          เป็นไปได้ เพราะการจัดการศึกษา 4.0 จะใช้สมรรถนะที่ครูมีอยู่ในการทำให้นักเรียนกลายเป็นนักเรียน 4.0 ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่21 คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนการสอน 4.0 จึงเน้นที่การสร้างชุมชนแห่งความสงสัย กระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้ และอยากได้คำตอบขึ้นใจชั้นเรียน
4. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรบ้าง   มีความคาดหวังต่อการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวนี้เพื่อที่จะนำไปใช้ในอาชีพครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู (ตามที่คุรุสภากำหนด) โดยสรุป
ตอบ    มาตรฐานความรู้/มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
          มาตรฐานความรู้
                   1. การจัดการเรียนรู้
                   2. จิตวิทยาสำหรับครู
                   3. การวัดและประเมินผลการศึกษา
                   4. นวัตกรรมและเทคโนโลยี
                   5. ความเป็นครู
          มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
                  1. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ระหว่างเรียน
                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                     มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ หมายถึงให้ผู้เรียน เรียนได้ตามความถนัดโดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ได้ผลดี
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึงเลือกใช้และปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ แนวทางที่นำสู่ผลก้าวพัฒนาของผู้เรียนได้ทุกสถานการณ์




นางสาวรสริน  เพชรดี  รหัส 5641060171
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น